ตรวจวัดฮอร์โมนเพศและโรคติดต่อ
ตรวจเช็คโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ (Hypogonadism)
คุณมีอาการเหล่านี้รึเปล่า !! หงุดหงิดง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย จู๋ไม่แข็ง
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
(Hypogonadism)
คุณมีอาการเหล่านี้รึเปล่า !!
หงุดหงิดง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย จู๋ไม่แข็ง
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
(Hypogonadism) คืออะไร
ภาวะที่ฮอร์โมนเพศชายต่ำลง จนมีผลให้ร่างกายเสื่อมถอยลง ส่งผลให้มีอาการคล้ายผู้หญิงวัยทอง อาการจะค่อยเป็นค่อยไป และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลา โดยสามารถพบได้ตั้งแต่อายุ 40-45 ปีในท่านที่ขาดการพักผ่อนหรือไม่ได้รู้ดูแลตัวเอง
อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
อาการที่พบในภาวะนี้แบ่งได้ดังนี้
-
ด้านเพศ : อวัยวะเพศแข็งตัวลดลง, อารมณ์ทางเพศลงลง
-
ด้านร่างกาย : รู้สึกไม่ค่อยมีแรง ออกกำลังกายได้น้อยลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รู้สึกง่วงนอนง่ายโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร รู้สึกเตี้ลง
-
ด้านจิตใจ : มีความสุขในชีวิตลดลง ซึมเศร้า ไม่อยากอยู่คนเดียว
หากพบว่ามีอาการด้านเพศเพียง 1 อาการ หรืออาการอื่นๆอย่างน้อย 3 อาการ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยละเอียด
-
ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน (Testosterone ) สร้างที่อัณฑะ โดย จะถูกควบคุมการสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า หากมความผิดปกติของบริเวณใดบริเวณหนึ่งจะทำให้เกิด ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ (Hypogonadism)
-
สามารถตรวจหาได้อย่างละเอียดโดยการเจาะเลือดแล้ว เพื่อการรักษาที่ตรงจุด
หาสาเหตุที่ตรงจุดด้วยการตรวจเลือด
การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
-
ในผู้ที่ตรวจพบว่ามีฮอร์โมนเพศชายต่ำ สามารถให้ฮอร์โมนเสริมได้แล้ว !!
-
รูปแบบของยามีทั้งชนิดเจลทา และยาฉีดทุก 1 เดือน และ 3 เดือน
สามารถเข้ามาปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำปรึกษาและเลือกตัวยาที่เหมาะสม
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(Sexual transmitted disease : STDs)
ปัสสาวะแสบขัด มีหนอง ตกขาวหลังมีเพศสัมพันธ์รึเปล่า !!
ปัสสาวะแสบขัด มีหนอง
ตกขาวหลังมีเพศสัมพันธ์รึเปล่า !!
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs)
คืออะไร
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) คืออะไร
-
คือกลุ่มโรคติดต่อจากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคล โดยส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
-
ประกอบด้วยโรคติดต่อหลายชนิด เช่น โรคแผลริมอ่อน, ซิฟิลิส, หนองในแท้, หนองในเทียม, เริม, หูด, ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
โดยสามารถเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส พยาธิ และ เชื้อรา/โปรโตซัส
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย
หนองในแท้
หนองในเทียม
ซิฟิลิส
โรคแผลริมอ่อน
เริม
หูดหงอนไก่และเชื้อ HPV (มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรูทวาร)
ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
การติดต่อและการรักษา
-การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งจากการจูบ การสัมผัสอวัยวะเพศ การร่วมเพศโดยใช้ปาก/องคชาติ/ช่องคลอด/ทวารหนัก
-
ในช่วงแรกอาจไม่มีอาการได้
-
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปัสสาวะแสบขัด/มีหนอง, มีแผลบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องปาก, ในผู้หญิงจะพบอาการตกขาวผิดปกติ หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
-
-
การตรวจหาเชื้อในผู้ที่มีอาการสงสัย หรือมีความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันจะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง
-
ตรวจได้จากการเพาะเชื้อจากบริเวณช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก, ตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือด
-
-
เมื่อทราบเชื้อที่แน่ชัด แพทย์จะทำการจ่ายยาที่เหมาะสมให้ บางโรคอาจไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมเชื้อโรคและป้องกันอาการได้
-
หากไม่ได้รับการรักษา อาจะทำให้มีปัญหาสุขภาพระยะยาวได้ เช่น มียุตรยาก
-